วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ 2562

บันทึกครั้งที่12

ความรู้ที่ได้รับ
❤️ไฮสโคป
แนวคิดสำคัญ
     แนวการสอนแบบไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
การเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
 -  การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
 -   การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
 -   การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำรวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับ

สรุป
    การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป  สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ทุกกิจกรรม เพราะกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กเปิดกว้างมีการคิดการปฏิบัติ ตามวงจรของการวางแผน  การปฏิบัติ และการทบทวน ( plan-do-review cycle ) เมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ  จุดสำคัญอยู่ที่ประสบการณ์การเรียนรู้ ( Key  experience ) ที่เด็กควรได้รับระหว่างกิจกรรม  ซึ่งครูต้องมีปฏิสัมพันธ์และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด
    การเรียนการสอนทุกรูปแบบต่างก็ส่งผลต่อเด็กในการเรียนรู้  แต่สิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กได้รับอย่างน้อยต้องส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้ที่ดีและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความคิดอิสระสร้างสรรค์  ริเริ่ม  ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบจะมีจุดเน้นสำคัญของรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ
    ครู คือบุคคลที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  หากรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องภาวะการเรียนรู้ของเด็กและครูมีความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น
❤️❤️ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน
มีดังนี้
  • มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
  •  รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้ และจัดการกับกระบวนการทำงาน จนเสร็จทันตามกำหนด
  •  นำสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนในประสบการณ์มาใช้ในการทำงานหรือกิจกรรมใหม่ได้
  •  สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดตายตัว จนถึงขั้นมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
  •  รู้จักประเมินตนเอง นำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้ 
  •  รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมแม้จะมีสิ่งยั่วยวน
  •  รู้จักแสดงออกในครอบครัวในห้องเรียน กับเพื่อน หรือในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การรู้จักเคารพผู้อื่น อยู่กับคนอื่นได้ดี ไม่มีปัญหา
  •  เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ


ฐานของทักษะEF ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการรู้จักตัวเลขหรือตัวหนังสือ เมื่อเด็กได้รับโอกาสพัฒนา EF ทั้งตัวเด็กเองและสังคมได้รับประโยชน์ จะช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงบวกและเลือกตัดสินใจในทางที่สร้างสรรค์ต่อตัวเอง และครอบครัว หากเด็กมีทักษะ EFs เขาจะมีความสามารถในการคิด
ทักษะ EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มี Working Memory ดี IQ ก็จะดีด้วย
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน “รถที่ขาดเบรก” อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้

3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว

4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลวไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้วก็มีความมุ่งมั่นอดทนไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟัง

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง

ประเมินอาจารย์ผู้สอน : อาจารย์อธิบายได้เข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น